“เตยปาหนัน” (ต้นลำเจียก) เป็นพืชตระกูลใบเตย มักพบในป่าชายเลน ภาคใต้ ของประเทศไทย ลำต้นเป็นกอขนาดใหญ่สูงประมาณ 4-5 เมตร ใบยาวใหญ่และหนากว่าใบสับปะรด หัตถกรรมจักสานจะสานจากใบเตยปาหนันที่มีความเหนียวมาก เมื่อทำให้บางแล้วเอาหนามออกและลนไฟ เส้นใยจะกลับนุ่ม งานฝีมือ หัตถกรรมท้องถิ่น เช่น กระเป่าถือแฟชั่นที่มีความงาม มีศิลปะที่เกิดจากการผสมกลมกลืนของรูปทรง โครงสร้าง และลวดลายเป็นอย่างดี มีความละเอียดและประณีต ผลิตภัณฑ์มีการออกแบบ ทั้งด้านรูปแบบ สีสัน ลวดลายในการจักสาน ผลิตภัณฑ์มีสวยงาม หลากหลาย ใช้วัสดุในท้องถิ่นคือใบ “เตยปาหนัน” นำมาสานสะท้อนให้เห็นคตินิยมของท้องถิ่น ลักษณะวัฒนธรรมการประกอบอาชีพ การดำรงชีพ และลักษณะทางภูมิศาสตร์ทางใต้ที่ตกทอดกันมานานชั่วลูกชั่วหลาน
วิธีการเก็บรักษา
- ไม่ควรใส่ของลงในตะกร้าจนแน่น ทำให้รูปทรงของตะกร้าถูกบีบจนเสียทรง
- แนะนำให้นำมาผึ่งแดดเป็นระยะๆ. เพื่อรักษาความคงทนของตะกร้า
- หลีกเลี่ยงการโดนน้ำ.ถ้าหากโดนน้ำ หรืออยู่ในที่ชื้น ให้นำไปตากแดดทันทีในเวลา 1-2ชม
- ไม่ควรเก็บไว้ในที่อากาศชื้น ควรนำตะกร้าใส่ถุงพลาสติก ผนึกให้แน่น มิดชิด แล้วเก็บไว้ในที่แห้ง
- ห้ามกดทับกระเป๋า. ป้องกันไม่ให้ผิดรูปแบบและเสียทรง.
- ควรนำกระดาษหรือฟองน้ำยัดไว้ข้างในตะกร้า. ไม่ควรใส่ของลงในตะกร้าจนแน่น”
วิธีการใช้งาน
- ใส่สัมภาระ
- กระเป๋าถือ